จุกแน่นลิ้นปี่ อาจรุนแรงมากขึ้น อย่ามองข้าม

Last updated: 27 ก.ย. 2565  |  443 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จุกแน่นลิ้นปี่

จุกแน่นลิ้นปี่ อาจรุนแรงมากขึ้น อย่ามองข้าม
หลายคนอาจคิดว่า อาการจุกแน่นลิ้นปี่ เป็นเรื่องธรรมดา และ จุกแน่นลิ้นปี่ จากหลายสาเหตุก็สามารถรักษาได้อย่างง่ายดาย แต่แท้จริงแล้ว อาการดังกล่าว อาจเกิดรุนแรงมากขึ้น หรือ ก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่รุนแรงตามมาได้ ผู้ป่วยจึงไม่ควรชะล่าใจ และละเลยในการรักษา โดยสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา ที่เหมาะสมและตรงจุด คือการทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ของ อาการจุกแน่นลิ้นปี่ นั่นเอง

อาการ จุกแน่นลิ้นปี่ เป็นความเจ็บปวด หรือ การรู้สึกไม่สบายใต้ซี่โครงบริเวณหน้าท้องส่วนบน มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการอื่นๆ ของระบบย่อยอาหาร ซึ่งมีตั้งแต่ แสบร้อนกลางอก ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง อิ่มเร็ว ไปจนถึง เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อย่างไรก็ตาม สัญญาณอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไป ตามแต่ละสาเหตุดังต่อไปนี้

สาเหตุของการ จุกแน่นลิ้นปี่
อาการ จุกแน่นลิ้นปี่ อาจเกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุ โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

  กรดไหลย้อน เป็นภาวะที่ กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อน กลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร ส่งผลให้ผู้ป่วย เจ็บหน้าอก และบริเวณลำคอ ซึ่งปกติแล้ว กรดไหลย้อน มักทำให้เกิดอาการ เช่น แสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย มีน้ำรสเปรี้ยว หรือขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก เจ็บคอ เสียงแหบ รู้สึกเหมือนมีก้อนภายในคอ ไอเรื้อรัง เป็นต้น
  อาหารไม่ย่อย อาจเกิดจากพฤติกรรม การรับประทานอาหาร ที่ไม่ดี เช่น กินอาหารในปริมาณมาก กินอาหารเร็วเกินไป กินอาหารมัน และ อาหารที่มีรสเผ็ด เป็นต้น รวมถึง ปัญหาทางสุขภาพ และการใช้ยาบางชนิด โดยอาหารไม่ย่อย มักทำให้ผู้ป่วยมี อาการปวดท้อง ท้องอืด แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ และอาเจียน
  ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง คือ ภาวะที่ร่างกายไม่อาจย่อยน้ำตาลแล็กโทสได้หมด โดยน้ำตาลชนิดนี้พบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม และมักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีเอนไซม์แลคเตส ที่ช่วยในการย่อยน้ำตาลแล็กโทส ในปริมาณน้อย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ เช่น ท้องอืด ปวดท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
  การดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากเกินไป หรือการดื่มจัด มาเป็นเวลานาน อาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งในระยะยาวอาจนำไปสู่การมีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังอาจก่อให้เกิดภาวะทางสุขภาพอันเป็นสาเหตุของจุกแน่นลิ้นปี่อย่างโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ หรือโรคตับ
  การรับประทานอาหารมากเกินไป ส่งผลให้ผู้ป่วยจุกแน่นลิ้นปี่ได้เช่นกัน เนื่องจากไปทำให้กระเพาะอาหารขยายตัว จนเกิดแรงดันต่ออวัยวะโดยรอบ ก่อให้เกิดอาการปวดลำไส้ อีกทั้ง กรดในกระเพาะอาหาร และของเหลวต่างๆ อาจไหลย้อน กลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร จนทำให้แสบร้อนกลางอก และเป็น กรดไหลย้อน ได้
  โรคไส้เลื่อนกะบังลม เกิดขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งของ กระเพาะอาหาร เคลื่อนตัว ไปยังบริเวณหน้าอกผ่านทางช่องโหว่ของกะบังลม อาจทำให้เกิดอาการ เช่น อาหารไม่ย่อย แสบร้อนกลางอก ระคายเคืองหรือเจ็บคอ เรอเสียงดัง เป็นต้น
  หลอดอาหารอักเสบ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยทั้ง กรดไหลย้อน โรคภูมิแพ้ การใช้ยา หรือกระทั่ง การติดเชื้อ หากไม่เข้ารับการรักษาอาจส่งผลให้ หลอดอาหารเป็นแผล ได้ โดยทั่วไป มักทำให้เกิด อาการแสบร้อนกลางอก หรือบริเวณลำคอ มีน้ำรสเปรี้ยว หรือขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก ไอ หรือ มีปัญหาในการกลืน
  โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร จากการติดเชื้อแบคทีเรีย โรคภูมิคุ้มกัน หรือกระเพาะอาหารถูกทำลาย อย่างต่อเนื่อง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง มักทำให้เกิดอาการ เช่น แสบร้อนกลางอก ปวดแสบท้อง ปวดตื้อ จุกเสียด จุกแน่นลิ้นปี่ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
  แผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือใช้ยาบางชนิด อย่างยาแก้ปวดในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) มากเกินไป อาจส่งผลให้ เยื่อบุกระเพาะอาหาร และ ลำไส้เล็ก ถูกทำลายจนเป็นแผล อาการที่พบได้บ่อยคือปวดท้องหรือ แสบที่กระเพาะอาหาร และยังมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มง่าย ท้องอืด เรอ แสบร้อนกลางอก และ สัญญาณการ มีเลือดออก เหนื่อยล้า ผิวซีด หรือ หายใจไม่อิ่ม ร่วมด้วย
  การตั้งครรภ์ ขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น จนไปเบียด กระเพาะอาหาร ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของฮอโมนส์ และ ระบบย่อยอาหาร อาจทำให้คนท้องมีอาการ จุกแน่นลิ้นปี่ อีกทั้งยังมีอาการ แสบร้อนกลางอก เกิดขึ้นบ่อยครั้งด้วย อย่างไรก็ตาม สตรีมีครรภ์ที่จุกแน่นล้นปี่ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วน เพราะอาการดังกล่าวอาจเป็น สัญญาณของ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้

นอกจากนี้ อาการ จุกแน่นลิ้นปี่ ยังอาจเกิดได้จากโรคและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ ระบบย่อยอาหาร เช่น ภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรัง (Barrett’s Esophagus) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจาก โรคกรดไหลย้อน โรคถุงน้ำดีอักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน โรคมะเร็ง ลำไส้หรือถุงน้ำดีอุดตัน อาการบาดเจ็บ หรือ การผ่าตัดบริเวณช่องท้อง รวมถึง ระบบหัวใจ และ หลอดเลือด ที่เป็นอันตรายร้ายแรงอย่าง ภาวะหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

วิธีจัดการกับอาการ จุกแน่นลิ้นปี่
การรักษาอาการ จุกแน่นลิ้นปี่ มีความแตกต่างกันไป ตามแต่ละสาเหตุ เช่น

  ผู้ที่รับประทานอาหารมากจนเกินไป อาจปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร หรือการใช้ชีวิต โดยหันมาพึ่งพาอาหารเพื่อสุขภาพ ดื่มน้ำให้มากขึ้นในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และ คาเฟอีน หรือออกกำลังกายเป็นประจำประมาณ 30 นาทีต่อวัน
  หากเกิดจากการใช้ยา บางชนิด อย่างยาในกลุ่มเอ็นเสด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาเหล่านั้น และเลือกใช้เป็น ยาลดกรด หรือย ายับยั้งการหลั่งกรด เพื่อบรรเทาอาการปวดแทน
  หากมีปัญหาสุขภาพ เกี่ยวกับ ระบบย่อยอาหาร อย่างกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือ แผลในกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุของอาการจุกแน่นลิ้นปี่ ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะเข้าช่วย
  หากมีอาการดังกล่าวตามที่ได้บอกไปแล้ว ควรรับประทาน HASHI นวัตกรรมใหม่ของ GRD, PRD, URD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืด โดยไม่ใช้ยา

HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืดโดยไม่ใช้ยา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้