ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย บ่อยๆ เสี่ยงระบบย่อยอาหารพัง

Last updated: 26 ก.ย. 2565  |  344 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย

ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย บ่อยๆ เสี่ยงระบบย่อยอาหารพัง
หากมีอาการจุก อึดอัด แน่นท้องขึ้นมาอยู่บ่อยๆ จนต้องเรอ หรือผายลม เพื่อระบายความปั่นป่วน ที่เกิดขึ้นภายในท้อง จนเสียบุคลิกภาพ บางคนอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย และคนส่วนใหญ่ มักเลือกทานยาบรรเทาอาการ เพียงเท่านั้น แต่หากรู้หรือไม่ว่า อาการเหล่านี้ หากเป็นอยู่บ่อยครั้ง หรือเป็นๆ หายๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติ จากร่างกาย ที่อาจตามมาด้วย โรคระบบทางเดินอาหาร แล้วก็เป็นได้


อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เป็นยังไง
  ท้องอืด - เป็นอาการที่มีลม ในกระเพาะอาหาร และลำไส้มากจนเกินไป เพราะอาหารไม่ย่อย ทำให้รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทำให้เรอ ผายลมบ่อย หรือภาวะท้องโต บางครั้งอาจได้ยินเสียงดังเสียงท้องร้องภายในท้อง และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย โดยอาการจะแสดงออก บริเวณกลางท้องส่วนบน ซึ่งอยู่ระหว่างใต้ลิ้นปี่ และเหนือสะดือ
  ท้องเฟ้อ - เป็นอาการที่มีลม ในกระเพาะอาหาร เพราะอาหารไม่ย่อย หรือ อาหารเป็นพิษ เมื่อเรอขึ้นมามักจะมีกลิ่นเหม็น จึงใช้ว่า ท้องเฟ้อเรอเหม็นเปรี้ยว
  ท้องเสีย - เป็นอาการถ่ายอุจจาระ มีลักษณะเหลว หรือถ่ายออกเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้ง ถ่ายเป็นมูกปนเลือด ร่วมด้วย

ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย มีสาเหตุที่พบได้บ่อยๆดังนี้
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
สามารถเกิดขึ้นได้ กับทุกช่วงอายุ ตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงวัยสูงอายุ แต่ช่วงอายุที่พบบ่อยมาก คือ 30-40 ปีขึ้นไป เนื่องจากกลุ่มคน ในวัยดังกล่าว มีการทำงานของ ระบบการย่อยอาหาร ที่เสื่อมถอยลงตามวัย สาเหตุหลักๆ มาจาก ในกระเพาะอาหาร ของเรามีแก๊สอยู่เยอะเกินไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆสาเหตุที่พบได้บ่อย ดังต่อไปนี้
  พฤติกรรม ด้านการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานเร็ว ดื่มเร็ว รับประทานผิดเวลา บดเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ชอบดื่มเครื่องดื่ม ที่มีการอัดก๊าซไว้ เช่น น้ำอัดลม เบียร์ จึงทำให้เกิดก๊าซ หรือลม ในท้องมากกว่าปกติ รับประทานถั่ว นม อาหารที่มีไขมันสูง หรือชอบ รับประทานอาหารรสจัด เป็นต้น
  มีลมในกระเพาะอาหาร มากเกินไป เกิดจากการอักเสบ มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเนื้องอก เนื้อร้ายซ่อนอยู่ในกระเพาะอาหาร
  ความผิดปกติ ของระบบการย่อยอาหาร ที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งในส่วนของ กระเพาะอาหาร เอง และในส่วนของ ลำไส้ น้ำย่อยจากลำไส้เล็ก ตับ หรือ ตับอ่อน ทำงานได้น้อย จำนวนแบคทีเรีย ที่มีประโยชน์มีปริมาณมาก หรือน้อยไป หรือเกิดจากสภาวะการบีบตัวที่ผิดปกติ
  การกลืนอากาศเข้าไปมากเกินไป ระหว่างรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือพูดคุย
ท้องเสีย
สาเหตุหลัก มักเกิดจากการติดเชื้อ หรือ ภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจาก การรับประทานอาหาร ที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ปรสิต หรือเชื้อไวรัสเข้าไป ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ทั้งนี้ ความเครียดวิตกกังวล การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากเกินไป หรือการแพ้อาหารบางชนิด ก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสีย ได้เช่นกัน ในรายที่มี อาการท้องเสียแบบเรื้อรัง อาจเกิดจากสาเหตุ โรคในระบบทางเดินอาหาร และ โรคลำไส้ผิดปกติ

วิธีแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ดังนี้
ด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานและพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่าง ได้แก่
  รับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มให้ช้าลง จะช่วยลดการกลืนอากาศให้น้อยลงได้
  ดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลงหรือจำกัดการดื่ม เพราะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก
  หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น พืชตระกูลผักกาด ถั่ว หัวหอม บรอกโคลี กะหล่ำดอก กล้วย ลูกเกด และขนมปังโฮลวีท
  หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น ซอร์บิทอล (Sorbitol) เพราะผลิตจากน้ำตาลฟรุกโตสที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องอืด
  ผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดจากการแพ้โปรตีนกลูเตน ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของข้าวสาลีทุกชนิด หากแพ้น้ำตาลแลกโตสก็ควรงดผลิตภัณฑ์จากนมเช่นกัน
  หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอม เพราะขณะที่กำลังเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอม จะทำให้กลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ
  จำกัดอาหารประเภทไขมัน
  สังเกตชนิดของอาหารหรือเครื่องดื่มที่มักทำให้เกิดอาการ
  หากมีอาการท้องอืดบ่อย ๆ เนื่องจากรับประทานอาหารมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารลง หรือแบ่งย่อยมื้ออาหารจาก 3 มื้อ เป็น 5-6 มื้อ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  ลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่อ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมาก
  ผู้ที่มีภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติ (Lactose Intolerance) ควรบริโภคผลิตภัณฑ์ทำจากนมที่ปราศจากแลคโตส
  บริโภคผลิตภัณที่มีโปรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งมีประโชน์ต่อร่างกาย เช่น โยเกิร์ต โดยจะช่วยเพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ และจากการวิจัยพบว่ามีส่วนช่วยบรรเทาอาการท้องอืดได้
  หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะทำให้กลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ
  ตรวจสอบฟันปลอม เพราะหากฟันปลอมที่ใส่อยู่ไม่พอดี อาจทำให้ต้องกลืนอากาศเข้าไปมากเวลารับประทานอาหารและดื่มน้ำ  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้และช่วยบรรเทาความเครียด
  หลังรับประทานอาหาร ควรขยับร่างกาย เช่น เดินเบา ๆ เพื่อช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยกำจัดแก๊สออกจากกระเพาะอาหารและลำไส้
  สมุนไพรบางชนิด นอกจากนำมาใช้เป็นส่วนผสมอาหารแล้วยังมีสรรพคุณที่ช่วยขับลมและบรรเทาอาการท้องอืดได้ เช่น ขิง สะระแหน่ ชินนาม่อน คาโมไมล์ โหระพา ยี่หร่า กระเทียม จันทน์เทศ ผักชีฝรั่ง และออริกาโน่
  รับประทาน HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืดโดยไม่ใช้ยา

HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืดโดยไม่ใช้ยา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้