กินแล้วนอน เสี่ยงกรดไหลย้อน

Last updated: 14 ก.ย. 2565  |  331 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กินแล้วนอนเสี่ยงกรดไหลย้อน

กินแล้วนอน เสี่ยงกรดไหลย้อน
หนึ่งในสาเหตุหลักๆ ของการเกิด โรคกรดไหลย้อน ก็คือ พฤติกรรม “กินแล้วนอน” ซึ่งการนอนจะทำให้หูรูด มีการทำงานที่ไม่ดี เกิดอาการ กรดไหลย้อน ขึ้นไปได้ รวมไปถึง ท่านอนราบ ยังทำให้ กรดไหลย้อน ขึ้นไปได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้แล้ว การรับประทานอาหารและนอนทันที ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด โรคกรดไหลย้อน ถึง 2 เท่าเลยทีเดียว

กรดไหลย้อน เป็นได้ทุกเพศทุกวัย
อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า โรคกรดไหลย้อน มักพบในผู้ที่ทำงานออฟฟิศ ซะส่วนมาก เนื่องมาจากพฤติกรรม การรับประทานอาหาร ที่ไม่เป็นเวลา แต่ไม่เพียงเท่านั้น โรคกรดไหลย้อน ยังสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ เป็นโรคใกล้ตัวที่ใครๆ ก็เป็นได้ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ที่มีความเสี่ยงเป็น กรดไหลย้อน

  รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รับประทานแล้วนอนทันที
  ชอบรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเป็นประจำ
  ดื่มสุรา น้ำอัดลม
  สูบบุหรี่
  ผู้หญิงตั้งครรภ์
  มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน
  ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
  รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นต้น

อาการแบบไหนเสี่ยง “กรดไหลย้อน”
กรดไหลย้อน ( Gastroesophageal Reflux Disease: GERD ) เป็นภาวะที่น้ำย่อยใน กระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจาก กรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่รบกวน ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร

โรคกรดไหลย้อน
เป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคนี้ ก็มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง โดยจะทำให้ม ีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ หลังจากทานอาหารมื้อหนัก และมี อาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว

สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคกรดไหลย้อน
  หลอดอาหารส่วนปลายคลายตัว โดยที่ยังไม่กลืนอาหาร
  ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลาย ลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหาร เข้าไปในหลอดอาหาร
  ความผิดปกติของการบีบตัวของ กระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร นานกว่าปกติ
  เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
  พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานเสร็จแล้วนอนทันที การรับประทานของมันๆ มากเกินไป
  ภาวะความเครียด โดยผู้ที่มีความเครียด มักมีภาวะหลอดอาหารที่มีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น หลอดอาหารอ่อนไหวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที
  ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น

HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืดโดยไม่ใช้ยา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้