ปวดท้องยังไง คือสัญญาณเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

Last updated: 7 ก.ย. 2565  |  229 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคแผลในกระเพาะอาหาร

ปวดท้องยังไง คือสัญญาณเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
อาการ “ปวดแสบปวดร้อน บริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง เมื่อได้รับประทานอาหารมักจะหายปวด หรือปวดยิ่งขึ้น” อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเป็น โรคแผลในกระเพาะอาหาร ก็เป็นได้ สำหรับผู้มีอาการผิดปกติตามที่กล่าวมานี้ หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษา จะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้อีกมากมาย


มาทำความรู้จัก โรคแผลในกระเพาะอาหาร กันเลย
โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือเรียกย่อๆ ว่า โรคพียู ( PU ) หรือพียูดี ( PUD, PEPTIC ULCER DISEASE ) เป็นโรคที่มีแผล ที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหาร บริเวณที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร ที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ จึงพบแผลได้ตั้งแต่ส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนตำแหน่งที่พบแผลได้บ่อย คือ กระเพาะอาหารส่วนปลาย และลำไส้เล็กส่วนต้น ใกล้รอยต่อระหว่าง กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น

สาเหตุสำคัญเกิดจาก
แผลในกระเพาะอาหาร เกิดจาก กรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ที่สร้างแนวต้านทานกรดได้ไม่ดี ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม รวมไปถึงการรับประทานยาแก้ปวด ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และยาต้านเกร็ดเลือด เช่น แอสไพริน ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด ความเครียด เป็นต้น

นอกจากนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร (H.Pylori : Helicobacter pylori) มีบทบาทโดยตรง และถือเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้ กระเพาะอาหาร มีการอักเสบเรื้อรัง จนทำลายผนังเยื่อบุ กระเพาะอาหาร และสำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้เป็น แผลในกระเพาะอาหาร หากในขณะทำการรักษาแผลในกระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้แผลหายช้า หรือทำให้แผลที่หายแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้อีก กลายเป็น แผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ที่สำคัญ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อีกด้วย

อาการหลักของ โรคแผลในกระเพาะอาหาร
อาการสำคัญหลักๆ ของโรคกระเพาะอาหาร คือ ปวดท้อง หรือแสบที่กระเพาะอาหาร บริเวณลิ้นปี่ มักมีอาการตอนท้องว่างหรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร ปวดท้องมากเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด จะมีอาการปวดแน่นท้องยามดึกหลังจากหลับไปแล้ว ปวดๆหายๆ เป็นแรมปี และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกคลื่นไส้ หรืออาเจียน น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร แสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย เป็นต้น


ภาวะแทรกซ้อน ที่มากับ โรคแผลในกระเพาะอาหาร
โดยทั่วไปพบว่าผู้ป่วยอาการจะค่อยๆ ทุเลาและหายไปเอง โดยไม่ต้องรับการรักษา แต่โอกาสที่จะกลับมาเป็นอีก มีอัตราสูง ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาดีเพียงใดก็ตาม และที่สำคัญ โรคแผลในกระเพาะอาหาร หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ได้แก่

ภาวะเลือดออกภายในกระเพาะอาหาร เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด โดยผู้ป่วยที่มีเลือดออกจะมีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด ถ่ายเป็นเลือดหรือมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด รวมถึงภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งเกิดจากการเสียเลือดจาก แผลในกระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหารทะลุ จะทำให้ปวดท้องอย่างเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมา กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะอิ่มเร็ว อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด


การวินิจฉัย โรคแผลในกระเพาะอาหาร ของแพทย์
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการใช้ยา พร้อมการตรวจร่างกาย และทำการตรวจเพิ่มพิเศษอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ ได้แก่

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถเห็นรายละเอียดของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้ชัดเจน รวมทั้งยังช่วยยืนยันการวินิจฉัย และสามารถยืนยันตำแหน่งและขนาดของแผลที่ตรวจพบได้ นอกจากนี้ยังสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร ได้อีกด้วย
การทดสอบการติดเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร ด้วย Urea Breath Test วิธีการเป่าลมหายใจวัดหาระดับยูเรีย

การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร
การรักษาทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิด แผลในกระเพาะอาหาร โดยวิธีการรักษามีรายละเอียดแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. การรักษาด้วยยา การใช้ยารักษา โรคแผลในกระเพาะอาหาร นั้น จำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดพร้อมกัน โดยแพทย์จะให้ยาลดกรด และ ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ แผลถึงจะหาย ในกรณีที่มีการติดเชื้อแพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร

2. การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ที่เกิดจากการใช้ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) อาจต้องทำการปรับเปลี่ยนยาที่ใช้ จากเดิมเปลี่ยนเป็นพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด แผลในกระเพาะอาหาร ได้น้อยกว่า ร่วมกับรับประทานยาลดกรดหรือ ยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร ตามแต่แพทย์สั่ง

3. การผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มักใช้ในผู้ป่วย ที่เป็น แผลในกระเพาะอาหาร แล้วไม่เข้ารับการรักษา มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กฉีกขาด เป็นต้น

4. การรักษาด้วยอาหารเสริม นวัตกรรมใหม่ของ GRD, PRD, URD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืด โดยไม่ใช้ยา

ทั้งนี้แล้ว ควรงดอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ อาหารรสจัด ร้อนจัด เย็นจัด ของหมักดอง รวมทั้งอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซใน กระเพาะอาหาร และควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เมื่อมีอาการดีขึ้นแล้ว จึงค่อยๆ กลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติ


ป้องกันแผลในกระเพาะอาหารได้ยังไง
แผลในกระเพาะอาหาร เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากไม่รู้จักป้องกัน หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวิถีชีวิตบางอย่าง โดยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของเรา ได้ดังนี้

 งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
 เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากๆ จะไปกัดชั้นเมือกในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง เป็นสาเหตุให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
 เลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำปริมาณกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น
 ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
 โรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นเหมือนภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากทิ้งไว้นานวันเข้าโดยที่ไม่รักษาอย่างจริงจัง จะกลายเป็นโรคเรื้อรั้งที่รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายขาดได้ อีกทั้งอาจเป็นสาเหตุโรคร้ายแรงอย่าง โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

HASHI-GRD นวัตกรรมใหม่ของ GRD เพื่อการบำบัดรักษา โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร อาการจุกแน่น ท้องอืดโดยไม่ใช้ยา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้